Network ก็คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันสามารถติดต่อสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ตัวอย่าง Network หรือเครือข่ายที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย Internet เป็นต้น
หัวข้อนี้จะอธิบายให้เรารู้จักภาพกว้างๆของคำว่า Network ก่อน ว่า Network ขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ มีลักษณ์อย่างไร ให้ทุกคนรู้ว่าระบบ Network มีอุปกรณ์อะไรบ้าง แต่ยังไม่ต้องเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่งทำให้ผู้เรียนจะได้รู้ว่ามีอุปกรณ์เหล่านี้เราจึงเรียกว่า Network ซึ่งอาจจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ แล้วค่อยไปเรียนรู้รายละเอียดของแต่ละอุปกรณ์กันอีกครั้ง ก็เปรียบเสมือนเราจะเรียนรู้ระบบการทำงานของรถสัก 1 คัน เราต้องรู้ก่อนว่ารถต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้าง เช่น มีล้อ มีเครื่องยนต์ มีเกียร์ อะไรประมาณนี้ แต่ยังไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าระบบเกียร์ทำงานเป็นอย่างไร การทำงานของระบบเกียร์ก็ค่อยไปเรียนรู้กันอีกครั้งในหัวข้อของระบบเกียร์
อุปกรณ์ในระบบ Network ปกติจะมีอะไรบ้าง
เร้าเตอร์ (Router)
เร้าเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหนึ่งเข้ากับอีกเครือข่ายหนึ่ง และในการทำงานของเร้าเตอร์จะมีความซับซ้อนในเรื่องของการส่งแพ็กเกจมากขึ้นกว่าอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Switch
สัญลักษณ์ของ เร้าเตอร์ (Router)
ภาพตัวอย่างของ เร้าเตอร์ (Router)
สวิตช์ (Switch)
สวิตช์ (Switch) คือ อุปกรณ์ศูนย์กลางที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆเข้าด้วยกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับมาก เช่น สวิตช์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องปลายทางเท่านั้น จะไม่ส่งกระจายออกไปทุกๆพอร์ตเหมือนกับฮับ ซึ่งสวิตช์จะทำงานอยู่ใน Layer 2 (Data Link Layer) ของ OSI Model
สัญลักษณ์ของ สวิตช์ (Switch)
ภาพตัวอย่างของ สวิตช์ (Switch)
Wireless Access Point
Wireless Access Point คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายๆฮับ แต่จะทำงานแบบไร้สาย ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆเข้าด้วยกัน
สัญลักษณ์ของ Wireless Access Point
ภาพตัวอย่างของ Wireless Access Point
Firewall
Firewall เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่าย หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยปกติแล้ว Firewall จะนำมากั้นระหว่างเครือข่ายภายนอก(เช่น Internet) กับเครือข่ายภายใน(Intranet) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ก็ได้
สัญลักษณ์ของ Firewall
ภาพตัวอย่างของ Firewall
เซิร์ฟเวอร์ (Server)
เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระบบปฏิบัติการ ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการในด้านต่างๆแก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องลูกข่าย เช่น ให้บริการ web, email, DNS, Database เป็นต้น โดยปกติแล้วความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ ความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องจะต้องสูง
สัญลักษณ์ของ เซิร์ฟเวอร์ (Server)
ภาพตัวอย่างของ เซิร์ฟเวอร์ (Server)
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 หากนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นภาพการทำงานมากขึ้น
Notebook หรือ Computer ก็เปรียบเสมือนบ้าน 1 หลัง
สาย LAN หรือ Media ก็เปรียบเสมือนถนนหรือทางที่ออกมาจากบ้านแต่ละหลัง
Switch ก็เปรียบเสมือนถนนเส้นหลักที่เชื่อมต่อทางออกของบ้านแต่ละหลังให้ถึงกัน
Router เปรียบเสมือนที่ทำการไปรษณีย์ที่คอยรับและส่งจดหมายข้ามหมู่บ้านกัน
Server เปรียบเสมือนตึก อาคาร ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือ อื่นๆที่ทุกคนต้องไปใช้บริการร่วมกันหลายๆคน
เครือข่ายตามบ้าน (ขนาดเล็ก)
เครือข่ายตามบ้าน (ขนาดเล็ก) ก็สามารถพบเห็นได้ทั่วๆไปตามบ้านเรื่อน หอพัก คอนโดมิเนียม ที่มีการเช่า Internet จากผู้ให้บริการ หรือ ISP (TOT, CAT, TRUE, 3BB หรือ AIS เป็นต้น) อาจจะเป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบเทคโนโลยี ADSL ที่เชื่อมต่อด้วยสายทองแดงคู่ หรือสาย Dropwire cable ผู้ให้บริการก็จะนำ ADSL Router มาติดตั้งที่บ้านของเรา หรือ อาจจะเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี FTTH (Fiber to the home) ผ่านสายใยแก้นำแสง หรือ สาย Fiber Optic ผู้ให้บริการก็จะนำอุปกรณ์ ONU/ONT หรืออาจจะเรียกว่า Optical Modem โดยจะมีทั้งประเภท Modem ธรรมดา และที่เป็นเป็นแบบ WiFi Modem มาติดตั้งที่บ้านของเรา
เครือข่ายสำนักงานขนาดเล็ก
อุปกรณ์ Network ที่ใช้งานจะเริ่มมีความแตกต่างจากระบบตามบ้าน อุปกรณ์จะไม่เป็นในลักษณะ all in one เช่น Router, Switch, Access Point ก็จะเป็นอุปกรณ์ Hardware ที่แยกกออกมา การเชื่อมต่อ Internet ก็เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Internet Business Package หรือเป็นแพ็กเกจสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในระดับ SME
เครือข่ายองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่
เครือข่ายองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ แน่นอนว่าการเชื่อมต่อ Internet ก็จะเป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Internet Business Package ต้องมีการรับประกันการเชื่อมต่อจากใผู้ให้บริการและต้องเป็นการเชื่อมต่อแบบ Redundant, มี High Availability หรือ พูดง่ายๆว่าเกือบทุกๆจุดของระบบ Network หากจุดใดเสีย ต้องมีอุปกรณ์อีกตัวสามารถทำงานแทนกันได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มี single point of failure(จุดใดจุดหนึ่งล่ม ระบบใช้งานไม่ได้)อยู่ในระบบ หากเป็นระบบที่มีอุปกรณ์ที่มีจำนวนเยอะมากๆและมีความซับซ้อนสูง ซึ่งการปรับแต่งตั้งค่าต่างๆ แบบ Manual อยู่ตลอดเวลาอาจจะมีปัญหาได้ง่าย ก็จะมี SDN เข้ามาช่วยแก้ปัญหา มาช่วยในการทำ Network Automation ในระบบ