Native VLAN
ใน Port Trunk นั้นเมื่อส่ง Ethernet Frame ออกไป จะมีการเพิ่มหรือแปะ Tag VLAN เข้ามา เพื่อทำการแยกแยะว่าข้อมูลนี้เป็นของ VLAN ใดบ้าง แล้วข้อมูลที่เป็น Ethernet Frame ธรรมดาที่ไม่ได้มีการเพิ่ม Tag ละ สามารถส่งเข้าไปใน Port Trunk ได้หรือเปล่า ? Native VLAN เข้ามาช่วยเรื่องนี้
Native VLAN หรือ VLAN ที่ไม่มีการเพิ่มหรือแปะ Tag VLAN เข้าไปใน Ethernet Frame บน Port Trunk หรืออาจจะมองเป็น Ethernet Frame แบบธรรมดาก็ได้เช่นกัน
การใช้งาน Native VLAN อาจจะเจอได้ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อกันด้วย Port Trunk เข้ากับอุปกรณ์ที่ไม่สารถอ่าน Tag VLAN ได้ เช่นการเชื่อมต่อกับ HUB ตามรูปด้านล่าง
จากรูปตัวอย่างด้านบน Switch 1 และ Switch 2 มี HUB มาขั้นกลางระหว่าง Switch และ PC 7 PC 8 ก็อยู่ใน Network เดียวกันกับ VLAN 30 เชื่อมต่อเข้ากับ HUB นี้ด้วย ตัว HUB เองนั้นทำงานใน Layer 1 อ่าน Tag VLAN ก็ไม่ได้ และเมื่อได้รับ Ethernet Frame เข้ามาก็จะ Flooding ออกทุกๆ Port ขณะเดียวกัน PC ก็ไม่สามารถอ่าน Tag VLAN ได้ ฉะนั้นที่ SWITCH 1 และ 2 จึงต้องตั้งค่า Native VLAN เพื่อช่วย PC 7 และ 8 ที่เชื่อมต่ออยู่กับ HUB ให้สามารถติดต่อกับ PC5 และ PC6 ที่อยู่ใน VLAN 30 ได้ กล่าวคือ ถ้าหากส่ง VLAN 30 เข้าไปใน Port Trunk แล้วไม่ต้องทำการแปะ Tag VLAN เพิ่มนั่นเอง
ทำการ Capture Packet ที่ Port Trunk เพื่อดูความแตกต่างระหว่าง Ethernet Frame ที่ Tag VLAN กับ Ethernet Frame ที่เป็น Native VLAN
ก่อนที่ Capture Packet ขอย้อนกลับไปดู Ethernet Frame และ Filed IEEE 802.1Q ที่เพิ่มเข้ามาใน Ethernet Frame
Capture Packet ของ VLAN 10
เมื่อ Capture Packet บน Port Trunk แล้ว จะพบว่ามี Field IEEE 802.1Q Tag ใน Ethernet Frame ซึ่งมีหมายเลข VLAN อยู่ในนี้ด้วย นั่นก็คือ VLAN 10 นั่นเอง
Capture Packet ของ Native VLAN 30
พบว่าไม่มี Field IEEE 802.1Q TAG หรือ Tag VLAN ใน Ethernet Frame สำหรับ Native VLAN 30 บน Port Trunk
ตรวจสอบ Native VLAN บน Switch
หมายเหตุ:ใน 1 Trunk Link สามารถมี Native VLAN ได้เพียง 1 VLAN และโดย Default แล้ว Native VLAN ของ Switch Cisco คือ VLAN 1
นอกจากนี้ หลายๆ Protocol ก็ใช้ Native VLAN ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เช่น
- CDP : Cisco Discovery Protocol
- VTP : VLAN Trunk Protocol
- DTP : Dynamic Trunking Protoco
Comments