IP Address จะเป็น Logical Address ประเภทหนึ่ง (ถ้า MAC Address เราจะเรียกว่า Physical Address) หรือเรียกว่าเป็นที่อยู่ที่กำหนดให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบ Network ซึ่ง IP Address สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ผลของการตั้งค่า IP Address จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้
ดู Video
ในชีวิตประจำวันการส่งจดหมายจากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง เราก็ต้องระบุที่อยู่ทั้งผู้ส่งและผู้รับ ในโลกของ Network ก็เช่นกัน หากเราทำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่อยู่ในโลกของ Internet ก็จะมีที่อยู่เป็น IP Address ของผู้ส่งและผู้รับระบุอยู่เช่นกัน
IP Address สามารถเขียนให้ัอยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบ (Decimal) หรือ เลขญานสอง (Binary) ก็ได้ ซึ่งถ้าหากเขียนให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบ แต่ละชุดก็จะมีเลขอยู่ระหว่าง 0 - 255 แต่ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสองก็จะมีค่าอยู่ระหว่าง 00000000 - 11111111 (มี 4 ชุด ชุดละ 8 bit) ยกตัวอย่างเช่น IP 192.168.1.100 นี่คือรูปแบบของเลขฐานสิบ ถ้าหากเขียนให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสองก็จะเท่ากับ 11000000.10101000.00000001.01100100
IP Address ที่อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบจะมีเลขที่เป็นไปได้ทั้งหมด 10 ตัวคือ 0-9 เลขฐานสิบจะทำให้มนุษย์อย่างเราๆสามารถจดจำและนำ IP Address ไปใช้งานได้ง่าย
IP Address ที่อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสองจะมีเลขที่เป็นไปได้ทั้งหมด 2 ตัว คือ 0-1 เลขฐานสองระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ Network จะนำไปใช้งานในการประมวลผล
ยกตัวอย่าง IP Address เบอร์ 192.168.1.100
เลขฐานสิบชุดแรกคือ "192" สามารถเขียนเป็นเลขฐานสองได้เท่ากับ "11000000"
เลขฐานสิบชุดที่สองคือ "168" สามารถเขียนเป็นเลขฐานสองได้เท่ากับ "10101000"
เลขฐานสิบชุดที่สามคือ "1" สามารถเขียนเป็นเลขฐานสองได้เท่ากับ "00000001"
เลขฐานสิบชุดสุดท้ายคือ "100" สามารถเขียนเป็นเลขฐานสองได้เท่ากับ "01100100"
หมายเหตุ : การแปลงเลขกลับไปกลับมาระหว่างเลขฐานสองและฐานสิบ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้โปรแกรม, ใช้การคำนวณด้วยตัวเอง เป็นต้น
Class หรือกลุ่มของ IPv4 Address
เราสามารถแบ่งประเภทของ IP Address ออกเป็น Class ได้ คือเป็น Class A, B, C, D, E (Class D = multicast addresses. Class E = reserved addresses)
อย่างที่ได้อธิบายข้างต้นว่า IPv4 Address จะมีการแบ่งออกเป็น Class ซึ่งหากเขียนให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบ
Class A จะมีค่าตั้งแต่ 0.0.0.0. - 127.0.0.0 หรือ อาจจะจำง่ายๆว่าขึ้นต้นด้วย 1-126 ก็ได้เช่นกัน เพราะว่า IP บางช่วงก็ไม่สามารรถนำมาใช้กับ Host หรือตั้งค่าให้กับ Computer ได้ เช่น IP ที่ขึ้นด้วย 127 จะเป็น Loopback address ที่ถูกจองเอาไว้ใช้ทดสอบการทำงานอื่นๆ เช่น ทดสอบการทำงานของ card lan เป็นต้น
Class B จะอยู่ในช่วง 128.0.0.0 - 191.255.255.255
Class C จะอยู่ในช่วง 192.0.0.0 - 223.255.255.255
IPv4 Public และ IPv4 Private
นอกจากนี้ IP แต่ละ Class ก็จะมีแบ่งเป็น IP Public และ IP Private อีก ตามที่แสดงในภาพ
IPv4 Public (มักจะเรียกกันว่า IP จริง) ซึ่งจะเป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกัน จะเป็น IP Address ที่ถูก route อยู่บน Internet ยกตัวอย่างเช่น หากเรามี IP Public ที่ติดตั้งอยู่บน Computerที่บ้านเรา แล้วเปิดแชร์ไฟล์เอาไว้ จากนั้นเราไปอยู่ส่วนไหนของโลกก็ได้ ที่สามารถใช้ Internet ได้ เราก็สามารถเข้ามา Download ไฟล์เราตรงๆผ่าน IP Public ที่ตั้งค่าไว้ได้เลย
IPv4 Private จะเป็น IP Address ที่ซ้ำๆกัน ไม่สามารถ route อยู่ Internet ได้ จะเป็น IP ที่ใช้อยู่ภายในบ้าน ภายในองค์กรเท่านั้น เหตุผลหลักๆที่ต้องมี IP Private(บางครั้งเรียกว่า IP ปลอม) ก็เพราะว่า IP Address ไม่พอ และ เอาไว้ทดสอบการเชื่อมต่อภายใน หากหลายๆท่านนึกภาพไม่ออก ก็ลองเปรียบเทียบ ชื่อเล่นคือ IP Private ซึ่งเราจะเอาไว้เรียกกันในบ้าน ในกลุ่มเล็กๆเท่านั้น หากจะติดต่อราชการ หรืออะไรที่เป็นทางการ เราก็ต้องใช้ชื่อจริง ที่ไม่ซ้ำกับใคร หรือ เปรียบเสมือนการติดต่อ Internet ที่ต้องใช้ IP Public นั่นเอง
หากลองใช้โปรแกรม Wireshark ในการจับ Packet ที่เครื่อง Computer ของเรา ที่กำลังเข้า www.cisco.com เราจะพบว่าจะมีข้อมูลอยู่ส่วนหนึ่งที่แสดงในส่วนของ Internet Protocol หรือ IP Address นั่นเอง ซึ่งจะมีส่วนของ Sourceและ Destination โดย Source address ก็คือ IP address ของเครื่อง Computer ต้นทางของเรา(ผู้ส่ง) ส่วน Destination address ก็คือ IP address ของปลายทาง(ผู้รับ) หรือ www.cisco.com ซึ่งรูปแแบของ IP Address ก็ตรงกับที่อธิบายไปก่อนหน้านี้
Sai.net@a.sai.com
เข้าใจง่ายขึ้นอธิบายได้ดีครับ